อาหารทะเลแช่แข็ง

Frozen foodPPP

การส่งออกอาหารแช่แข็งของประเทศไทย

อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย จัดเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ส่งผลสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน เพื่อเพิ่มให้แก่สินค้าต่างๆ เช่น ภาคเกษตร , การประมง , การปศุสัตว์ และสาขาอื่นๆ โดยปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยมีความก้าวหน้า สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ได้มากกว่า 200 ประเทศ จำนวนเฉลี่ยมากกว่าปีละ 800,000 ล้านบาท

อย่างในปี พ.ศ. 2558 การส่งออกอาหารของประเทศไทย สามารถสร้างรายได้ทั้งหมด 897,529 ล้านบาท จนขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับที่ 1 โดยจุดแข็งของการส่งออกอาหารของประเทศไทย อยู่ที่ความหลากหลายของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแบบอาหารแช่แข็ง หรืออาหารแปรรูป จัดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 อาหารแช่แข็งของประเทศไทย 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่  กุ้ง , ปลา , ทูน่ากระป๋อง สามารถสร้างรายได้ให้ทะลุ 1.17 แสนล้านบาท ซึ่งโตขึ้นจากปีก่อน 10% สำหรับภาพรวมของการส่งออกสินค้าทางการเกษตร

อาหาร ประเภท แช่เย็น , แช่แข็ง , กระป๋อง , แปรรูป ทำให้ได้ข้อมูลของการส่งออกสินค้าอาหารทะเล ในช่วง 8 เดือน ตั้งแต่ มกราคม-สิงหาคม มีจำนวน 2,494 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยรวมแล้ว สถานการณ์การส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งปี 2559 นี้ สามารถขยายตัวได้ดี แม้นานาประเทศจะเจอปัญหาเศรษฐกิจซบเซา โดยเฉพาะการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง สำหรับตลาดส่งออกอาหารแช่แข็งหลักในปี 2559 ได้แก่ สหรัฐฯ เพราะมีสัดส่วนการส่งออกมากกว่า 50% อันดับ 2 คือ ญี่ปุ่น , ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆลดหลั่นกันมา จากข้อมูลในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559 ประเทศไทยสามารถส่งออกกุ้งแช่แข็งไป 82,442 ตัน คิดเป็นมูลค่า 27,088 ล้านบาท

ในปี พ.ศ. 2560  ผู้ประกอบการอาหารแช่แข็งของไทย ได้รับการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีที่เรียกว่า Foodtech มาช่วยเพิ่มในเรื่องของคุณภาพ และมูลค่าให้กับอาหารทะเลแปรรูป เป็นการส่งเสริมให้เกิดการโยงใยในธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการ , หน่วยงานรัฐ , มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการสร้างงานวิจัยรวมทั้งนำนวัตกรรมใหม่ๆมาสร้างสรรค์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดโลก ในกลุ่มแปรรูปปศุสัตว์ของ ปี 2560 ปริมาณการผลิตมีการเพิ่มขึ้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเป็นจำนวนร้อยละ 5.35 อันมาจากการขยายการผลิตของ ไก่สดแช่เย็น,แช่แข็ง,ไก่ปรุงสุกเพื่อรองรับความต้องการของทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และจากไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าประชาชนมีความต้องการบริโภคไก่สดแช่เย็น,แช่แข็งในประเทศเป็นจำนวนสูงมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ กลุ่มผักผลไม้ช่วงไตรมาสที่ 2 ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อันเนื่องมาจากการเพิ่มคำสั่งซื้อผลไม้สดแช่เย็น, แช่แข็งอย่างต่อเนื่อง เช่น ทุเรียน , ลำไย เป็นต้น